จังหวัดตาก

เมืองประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม

วีดิทัศน์แนะนำเส้นทางการท่องเที่ยว

แหล่งท่องเที่ยว

1. วัดชัยชนะสงคราม

วัดนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ในการที่กองทัพอยุธยาได้รับชัยชนะในการรบสู้กับข้าศึกในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์

2. วัดเชียงทอง

ภายในอุโบสถประดิษฐานพระประธาน หลวงพ่อโต พระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย สมัยสุโขทัย เชื่อกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ปกป้องคุ้มภัย เป็นพระพุทธรูปสำคัญของวัดคู่บ้านคู่เมืองตาก

3. ตรอกบ้านจีน

เป็นแหล่งชุมชนที่มีมาดั้งเดิมและยังคงสภาพเป็นแหล่งชุมชนบ้านจีนไว้ได้อย่างเหนียวแน่น โดยเฉพาะสภาพของบ้านเรือนที่อยู่อาศัย

4. พิพิธภัณฑ์เมืองเฉลิมพระเกียรติ

เดิมเคยเป็นเรือนประทับของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เมื่อปี พ.ศ. 2501

5. ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

เป็นสัญลักษณ์ของเมืองตาก ที่ทำให้นักท่องเที่ยวทุกคน ที่ผ่านไปเมืองตาก ต้องระลึกถึงประวัติศาสตร์ของชาติไทยสมัยหนึ่ง

6. บ้านจอมพลถนอม กิตติขจร

เดิมเป็นบ้านพักอาศัยของจอมพลถนอม กิตติขจร ตั้งแต่เกิด และได้รับการปรับปรุง ซ่อมแซมใหม่ ภายในมีการจัดนิทรรศการประวัติของ จอมพลถนอม กิตติขจร

7. ศาลหลักเมืองตาก (เก่า)

สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงเห็นว่าบ้านป่ามะม่วงมีทำเลที่ดีเหมาะสำหรับเป็นเมืองหน้าด่าน จึงมีรับสั่งให้ฝังหลักเมืองทันทีตั้งแต่บัดนั้น และยังปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน

8. ศาลหลักเมืองสี่มหาราช

ชาวจังหวัดตากสร้างขึ้น เพื่อน้อมรำลึกถึง พระมหากรุณาธิคุณของพระมหาราชเจ้า ที่เคยเสด็จมาชุมชนทัพที่เมืองตากถึง 4 พระองค์ คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

9. วัดพระนารายณ์

สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งปัจจุบันกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน

10. วัดดอยข่อยเขาแก้ว

เป็นที่ตั้งโบราณสถานที่ชาวบ้านเรียกว่า “วัดพระเจ้าตากสิน” เนื่องจาก ปี พ.ศ. ๒๓๑๗ ครั้งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ ครั้งที่ ๒ ได้เสด็จมาประทับ ณ ตำหนักสวนมะม่วง บ้านระแหง

11. อนุสาวรีย์จอมพลถนอม กิตติขจร

เป็นอนุสรณ์สถานที่สร้างขึ้น เพื่อรำลึกถึงคุณูปการของจอมพลถนอม กิตติขจร ที่มีต่อชาวจังหวัดตาก

สงวนลิขสิทธิ์ © 2562 สำนักงานวัฒนธรรม จังหวัดตาก